วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

การสื่อสารข้อมูลเเละเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 
การสื่อสารข้อมูลเเละเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูล เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารจากต้นทางไปยังปลายทางโดยผ่านช่องทางการสื่อสารทั้งสื่อแบบที่ต้องใช้สายและไม่ใช้สายนอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับชนิดของสัญญาณ ประเภทของการส่งสัญญาณข้อมูล วิธีการสื่อสารข้อมูล ทิศทางการสื่อสารข้อมูล อุปกรณ์แปลงสัญญาณ วิธีการแปลงสัญญาณ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยทั่วไปจะประกอบด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ ช่องทางการสื่อสารข้อมูล  และอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ นอกจากนั้นยังมีแบบจำลองไอเอสโอ ซึ่งเป็นระบบเปิดเพื่อเป็นแนวทางมาตรฐาน เพื่อให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างระบบกันทำงานร่วมกันได้
ก่อนที่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ การติดต่อสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลและข่าวสารจะผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น ไปรษณีย์ โทรศัพท์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อหลักในการติดต่อสื่อสารเป็นเวลานาน
ยุคแรกการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน การทำงานทุกอย่างจะเป็นแบบรวมศูนย์ นั่นคือจะมีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องหลักทำงานที่ศูนย์กลาง งานต่างๆจะต้องส่งมาประมวลผลที่ศูนย์กลาง
ยุคต่อมา พัฒนาเป็นระบบการประมวลผลทางไกล ซึ่งจะประกอบด้วยเทอร์มินัลที่จะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลาง ระบบนี้ถึงแม้ว่าจะมีการกระจายการใช้งานของผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกล แต่ระบบการทำงานก็ยังรวมศูนย์อยู่ที่คอมพิวเตอร์กลางขององค์การอยู่นั่นเอง
เมื่อมีการนำไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทำให้เกิดการทำงานแบบกระจายศูนย์อย่างชัดเจนและแพร่หลายมากขึ้น ในขณะเดียวกันหากมีงานที่ซับซ้อนและไม่สามารถทำงานได้โดยไมโครคอมพิวเตอร์ก็สามารถที่จะประมวลผลภายใต้คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางได้ ซึ่งจะเห็นว่าการทำงานดังกล่าวเป็นรูปแบบการประมวลผลแบบกระจาย
ในช่วงแรก จะทำงานเป็นเอกเทศโดยเป็นรูปแบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ นั่นคือ ไม่มีการเชื่อมโยงถึงกัน จนกระทั่งเกิดระบบแลน การทำงานใดๆจะทำโดยเจ้าของงานซึ่งเป็นต้นทางของข้อมูลเพื่อการประมวลผล แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถเชื่อมโยงกับผู้ใช้ในจุดต่างๆที่อยู่ห่างไกลกันได้ ทำให้การสื่อสารข้อมูลในสำนักงานมีความสะดวกและเป็นเครื่องมือสำคัญของการสื่อสารข้อมูลในสำนักงานปัจจุบันนี้

 
ความหมายของการสื่อสารโทรคมนาคมและการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึง การส่งผ่านสัญญาณ หรือพลังงาน ซึ่งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ระหว่างผู้ส่งและผู้รับที่อยู่ห่างไกลกัน ในการส่งผ่านสัญญาณจะอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล ซึ่งจะเป็นแบบใช้สายโดยใช้ลวดตัวนำฉนวน หรือแบบไม่ใช้สายโดยส่งสัญญาณผ่านชั้นบรรยากาศ เช่น การสื่อสารโดยการใช้โทรศัพท์ (tele+phone = การพูดระยะไกล) การแพร่ภาพโทรทัศน์ (tele + vision  = การดูระยะไกล) โทรเลข (tele + graph = การเขียนทางไกล) เป็นต้น
การสื่อสารข้อมูล (Data communication) หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสาร จากผู้ส่งต้นทางไปยังผู้รับปลายทางที่อยู่ห่างไกล โดยผ่านช่องทางการสื่อสารเพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นแบบใช้สาย หรือไม่ใช้สายก็ได้ ส่วนข้อมูลหรือข่าวสารนั้นอาจจะเป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดียก็ได้ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารโทรคมนาคม โดยเน้นการส่งผ่านข้อมูล โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นหลัก องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
§        ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
§        ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
§        ข่าวสาร (Message)
§        ตัวกลาง (Medium)
§        โปรโตคอล (Protocol)
§        ซอฟต์แวร์ (Software)
ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูล
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกตัวกลาง
§        อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Transmission Rate)
§        ระยะทาง ระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ
§        ค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ค่าใช้จ่ายประจำ และค่าบำรุงรักษา
§        ความสะดวกในการติดตั้ง บางพื้นที่เหมาะกับการเดินสาย หรือบางพื้นที่อาจจะเหมาะกับสื่อแบบไร้สาย
§        ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม วิธีที่ใช้ในการสื่อสาร เช่นการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม หรือแบบขนาน ทิศทางที่ใช้ส่งข้อมูลเป็นแบบทางเดียว กึ่งสองทาง หรือแบบสองทาง เป็นต้น
ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
สัญญาณดิจิตอล (digital Signal)
§        สัญญาณดิจิตอล หรือเรียกว่า สัญญาณพัลซ์ (Pulse Signal)” สัญญาณที่มีระบบของสัญญาณเพียง 2 ระดับ คือ สูงและต่ำ การเปลี่ยนระดับสัญญาณจะไม่มีความต่อเนื่องกัน (Discrete) โดยปกติแล้วระดับสูงจะแทนด้วยตัวเลข 1 และระดับต่ำจะแทนด้วย 0
สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal)
§        สัญญาณอนาล็อก คือ สัญญาณที่อยู่ในรูปแบบของคลื่น (Waveform) ที่มีความต่อเนื่องกัน (Continuous) มีการเปลี่ยนแปลงระดับของสัญญาณขึ้น ลงตามขนาดของสัญญาณ (Amplitude) และมีความถี่ (Frequency) ที่เรียกว่า Hertz (Hz) ตัวอย่างของสัญญาณอนาล็อก เช่น เสียงพูด (Voice) กระแสไฟฟ้าสลับ เป็นต้น
ประเภทของการรับ - ส่งสัญญาณข้อมูล
1. แบบขนาน (Parallel Transmission)
§        รับส่งข้อมูลครั้งละหลาย ๆ บิตพร้อมกัน
§        จำนวนของสายสื่อสารเท่ากับจำนวนบิตของข้อมูลที่ ต้องการส่งไปแบบขนานกัน
§        เสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม
§        ไม่สามารถส่งไปในระยะทางที่ไกล ๆ ได้เนื่องจากข้อมูลแต่ละบิตอาจจะไปถึงปลายทางไม่พร้อมกัน เร็วกว่าการส่งแบบอนุกรม
§        นิยมใช้ในการรับส่งเพียงใกล้ ๆ เช่นการส่งข้อมูลออกไปพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์เป็นต้น 
แบบอนุกรม (Serial Transmission) 
§        รับส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิตเรียงตามลำดับกันไป
§         ใช้สายสื่อสารเพียงเส้นเดียวเท่านั้น
§         สามารถส่งไปได้ในระยะทางที่ไกล ๆ
§         นิยมใช้ในการสื่อสารข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์ เมาส์ และ COM Port
ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล 
§        แบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
        ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลตอบกลับมาได้ เช่น การกระจายเสียงทางวิทยุและการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ เป็นต้น
§        แบบทางใดทางหนึ่ง (Half-duplex Transmission)
        แต่ละฝ่ายสามารถรับ ส่งข้อมูลได้แต่จะไม่สามารถทำได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การใช้วิทยุสื่อสารของตำรวจ กระดานสนทนา (Web board) อีเมล์ เป็นต้น
§        แบบสองทิศทาง (Full-duplex Transmission)
        สามารถรับส่ง ข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทาง  ตัวอย่างเช่น การคุยโทรศัพท์ การสนทนาออนไลน์ในห้องสนทนา (Chat Room) เป็นต้น
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่าย (Network) คือ กลุ่มของเทคโนโลยี (ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ตัวกลาง และอื่นๆ) ที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถติดต่อสื่อสารกัน และเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างกัน และใช้แหล่งข้อมูลร่วมกันแบบเรียลไทม์ (real time)
ในปัจจุบันองค์กรบางองค์กรใช้ระบบรวมศูนย์กลาง คือ ใช้เครื่องเมนเฟรมและเครื่องเทอร์มินัล แต่ในขณะเดียวกันระบบธุรกิจและโรงเรียนจำนวนมากได้เปลี่ยนจากระบบรวมศูนย์กลางเป็นระบบเครือข่ายแบบใช้เครื่องพีซี เพราะมีความยืดหยุ่นมากกว่าการใช้เครื่องเมนเฟรมร่วมกับเครื่องเทอร์มินัล

ประโยชน์ของการใช้ระบบเครือข่าย
§        การใช้งานพร้อมกัน ระบบเครือข่ายจะอนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆ คนใช้โปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ได้ในเวลาเดียวกัน
§        การใช้อุปกรณ์รอบข้างร่วมกัน ระบบเครือข่ายจะอนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆ คน ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น
§        การสื่อสารส่วนบุคคล  ระบบเครือข่ายสามารถทำให้ผู้ใช้ติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น
§        การสำรองข้อมูลที่ง่ายขึ้น ระบบเครือข่ายสามารถทำให้ผู้ใช้และผู้ดูแลระบบสำรองข้อมูลที่สำคัญได้ง่าย

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายระยะใกล้หรือเครือข่ายแลน
        แลน คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ  กัน เช่น ในแผนกเดียวกัน ในสำนักงาน หรือตึกทำการเดียวกัน โดยแต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้
เครือข่ายแลนเป็นเครือข่ายสำคัญที่ปรับเปลี่ยนการทำงานภายในสำนักงานให้เป็นระบบสำนักงานอัตโนมัติ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลมาช่วยอำนวยความสะดวก ในการทำงานในสำนักงานด้านต่างๆ ได้แก่
-         การติดต่อสื่อสารภายในสำนักงาน เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างพนักงาน การนัดหมาย เป็นต้น
-         การใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน เช่น การใช้แฟ้มข้อมูล หรือ ฐานข้อมูลกลางระหว่างหน่วยงาน การใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น
-         การทำงานร่วมกัน เช่น การทำงานกลุ่ม เพื่อส่งเอกสารระหว่างสมาชิกในกลุ่ม การประชุมทางไกล เป็นต้น
ชนิดของเครือข่ายแลน (แบ่งตามการจัดการทรัพยากรของเครือข่ายคอมพิวเตอร์)
- แบบลูกข่าย/แม่ข่าย (Client/Server)
                มีแม่ข่าย (Server) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่มักจะใช้ควบคุมการทำงานในเครือข่ายเป็นผู้ให้บริการแก่คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายแลน
- แบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer)
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกันหมด คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถเป็นผู้ให้บริการและผู้รับบริการในขณะใดขณะหนึ่ง
2. เครือข่ายระยะไกลหรือเครือข่ายแวน
        แวน คือ ระบบเครือข่ายแลนสองระบบเครือข่ายหรือมากกว่าเชื่อมต่อกัน โดยส่วนมากจะครอบคลุมพื้นที่กว้าง ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งมีสำนักงานขนาดใหญ่ และฝ่ายการผลิตตั้งอยู่ที่เมืองหนึ่ง ฝ่ายการตลาดตั้งอยู่อีกเมืองหนึ่ง แต่ละแผนกต้องมีการใช้ทรัพยากร ข้อมูล และโปรแกรม นอกจากนี้แต่ละแผนกต้องการใช้ข้อมูลร่วมกับแผนกอื่นด้วย จึงต้องมีการระบบแวน
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์


1. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
        ใช้สายสัญญาณต่อเชื่อม ซึ่งเรียกว่า บัส (Bus)” เป็นทางเดินของข้อมูลร่วมกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยสัญญาณจะถูกกระจายไปตลอดทั้งเส้นทาง 
ข้อดีของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
ü     การใช้สายส่งข้อมูลจะใช้สายส่งข้อมูลร่วมกันทำให้ใช้สายส่งข้อมูลได้อย่างงเต็มประสิทธิภาพช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบำรุง
ü     เครือข่ายแบบบัสมีโครงสร้างที่ง่ายและมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
ü     การเพิ่มจุดใช้บริการใหม่เข้าไปในเครือข่ายสามารถทำได้ง่าย เนื่องจากจุดใหม่จะใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้
ข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
ü      การหาข้อผิดพลาดทำได้ยาก เนื่องจากในเครือข่ายจะไม่มีศูนย์กลางในการควบคุมอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ดังนั้นการตรวจสอบข้อผิดพลาดจึงต้องทำจากหลาย ๆ จุดในเครือข่าย
ü      ในกรณีที่เกิดการเสียหายในสายส่งข้อมูล จะทำให้ทั้งเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้
ü      เมื่อมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลเมื่อมีการับส่งข้อมูล
2.        การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network)
        การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางโดยใช้ฮับ (Hub) หรือสวิตช์ (Switch) เป็นจุดเชื่อมต่อและจะเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนั้นว่า โฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer)”
  ข้อดีของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network)
ü     เครือข่ายแบบสตาร์จะมีโฮสต์คอมพิวเตอร์อยู่ที่จุดเดียวทำให้ง่ายในการติดตั้งหรือจัดการกับระบบ
ü     จุดใช้งาน 1 จุด ต่อกับสายส่งข้อมูล 1 เส้น เมื่อ กิดการเสียหายของจุดใช้งานใดใน จะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของจุดอื่น
ข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network)
ü     เนื่องจากแต่ละจุดจะต่อโดยตรงกับโฮสต์คอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมากทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการติดตั้งและบำรุงรักษา
ü      การเพิ่มจุดใหม่เข้าในระบบจะต้องเดินสายจากโฮสต์คอมพิวเตอร์ออกมา ทำให้การขยายระบบทำได้ยาก
ü      การทำงานขึ้นอยู่กับโฮสต์คอมพิวเตอร์ถ้าโฮสต์คอมพิวเตอร์เกิดเสียหายขึ้นก็จะไม่สามารถใช้งานเครือข่ายได้
3. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง (Ring Network)
        การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง มีการต่อเชื่อมกันเป็นวงแหวน (Ring Network)  การรับส่งข้อมูลจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การติดต่อสื่อสารจะใช้ โทเค็น (Token)” เป็นสื่อกลางในการติดต่อภายในเครือข่าย
ข้อดีของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง (Ring Network)
ü      ใช้สายส่งข้อมูลน้อย ความยาวของสายส่งข้อมูลจะใกล้เคียงกับแบบบัส แต่จะน้อยกว่าแบบสตาร์ ทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือของการส่งข้อมูลได้มากขึ้น
ü      เหมาะสำหรับใช้กับเคเบิลเส้นใยแก้วนำแสง  เนื่องจากจะช่วยให้ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง ข้อมูลในวงแหวนจะเดินทางเดียว ในการส่งแต่ละจุดจะเชื่อมกับจุดติดกันด้วยสายส่งข้อมูลทำให้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้สายส่งข้อมูลแบบไหนในแต่ละส่วนของระบบ เช่น เลือกใช้เคเบิลใยแก้วนำแสงในส่วนที่ใช้ในโรงงานซึ่งมีปัญหาด้านสัญญาณ ไฟฟ้ารบกวนมาก เป็นต้น
ข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบริง (Ring Network)
ü      การส่งข้อมูลบนวงแหวนจะต้องผ่านทุก ๆ จุดที่อยู่ในวงแหวน ดังนั้นหากมีจุดใดจุดหนึ่งเสียหาย ทั้งเครือข่ายก็จะไม่สามารถติดต่อกันได้ จนกว่าจะนำจุดที่เสียหายออกไป หรือแก้ไขให้ใช้งานได้
ü      ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดอาจต้องทดสอบระหว่างจุดกับจุดถัดไป เพื่อหาดูว่าจุดใดเสียหาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและเสียเวลามาก
ü      ยากต่อการเพิ่มจุดใช้งานใหม่


การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network)
                เริ่มแรกนั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้ 2 Mbps (Megabits per Second) จนพัฒนาให้สามารถส่งข้อมูลได้ 11 Mbps ด้วยราคาที่ถูกลง ทำให้เครือข่ายไร้สายได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งเครือข่ายไร้สายนี้จะใช้เทคโนโลยีที่สามารถส่งข้อมูลไปบนความถี่ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ ซึ่งเรียกว่า “Spread Spectrum” โดยข้อมูลที่แยกส่งออกไปนั้นจะประกอบกันเหมือนเดิมที่ ตัวรับสัญญาณ
                เครือข่ายไร้สายจะช่วยอำนวยความสะดวกและความคล่องตัวในการใช้งานเครือข่าย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนภายในบริเวณพื้นที่ของเครือข่ายก็สามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับเครือข่ายปกติ 
อุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices)
อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater)
        อุปกรณ์ทวนสัญญาณทำงานใน Layer ที่ 1 ของ OSI Model เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิตอลเข้ามาแล้วสร้างใหม่ (Regenerate) ให้เป็นเหมือนสัญญาณข้อมูลเดิมที่ส่งมาจากต้นทาง จากนั้นค่อยส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น โดยที่สัญญาณไม่สูญหาย
ฮับ (Hub)
        Hub ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย จะมี พอร์ต (Port)” ใช้เชื่อมต่อระหว่าง Hub กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายตัวอื่น ๆ Hub จะทวนสัญญาณและส่งต่อข้อมูลนั้นออกไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่กับ Hub 
บริดจ์ (Bridge)
บริดจ์ ทำงานใน Layer ที่ 2 ของ OSI Mode ใช้เชื่อมต่อ Segment ของเครือข่าย 2 Segment หรือมากกว่าเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้ Data Link Protocol ตัวเดียวกัน และ Network Protocol ตัวเดียวกัน เช่น ต่อ Ethernet LAN (ใช้ Topology แบบบัส และใช้โปรโตคอล Ethernet)  2 Segment เข้าด้วยกัน
Bridge สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งต่อได้ โดยตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ส่งนั้นมีปลายทางอยู่ที่ใด ทำให้สามารถจัดการกับความหนาแน่นของข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เราเตอร์ (Router)
        เราเตอร์ ทำงานใน Layer ที่ 3 ของ OSI Model ใช้เชื่อมต่อเครือข่าย 2 เครือข่ายหรือมากกว่าเข้าด้วยกัน โดยที่เครือข่ายนั้นจะต้องใช้ Network Protocol ตัวเดียวกัน แต่ใช้ Data Link Protocol ต่างกันได้ (ต่อ Ethernet LAN เข้ากับ Token LAN ได้) Router สามารถกรองข้อมูลได้เช่นเดียวกับ Bridge และสามารถหาเส้นทางในการส่งแพ็คเก็ตข้อมูลไปยังเครื่องปลายทางได้สั้นที่สุดด้วย
OSI Model (Open Systems Interconnection Model)
 หน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากล หรือ ISO ระบุว่าควรแบ่งโปรโตคอลออกเป็น 7 เลเยอร์ (Layer) และในแต่ละเลเยอร์ควรมีหน้าที่อะไรบ้าง ดังนั้นเมื่อบริษัทต่าง ๆ ได้ผลิตโปรโตคอลใหม่ขึ้นมา ก็ออกแบบให้สอดคล้องกับ OSI Model นี้เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับระบบของต่างบริษัทได้ 
§ Application Layer ประกอบไปด้วย Application Protocol ต่าง ๆ ที่มีผู้นิยมใช้งาน เช่น E-mail, File Transfer  เป็นต้น
§       Presentation Layer จัดการเกี่ยวกับรูปแบบของข้อมูลโดยการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานที่ทุกเครื่องเข้าใจ
§       Session Layer สร้างการเชื่อมต่อเชิงตรรกะระหว่างเครื่องสองเครื่อง ทำการ Synchronize ข้อมูลเพื่อป้องกันปัญหาการเชื่อมต่อหลุด
§       Transport Layer ตัดข้อมูลออกเป็น segment ตรวจสอบความครบถ้วน ให้บริการเรื่องคุณภาพ
§       Network layer  แปลงข้อมูลเป็น packet และกำหนดเส้นทาง
§       Data Link Layer  อธิบายการส่งข้อมูลไปบนสื่อกลาง เพิ่ม Header และ Trailer เพื่อใช้ในการตรวจสอบต่าง ๆ
§       Physical Layer ทำหน้าที่ดูแลการส่งข้อมูลที่เป็น Bit ไปในช่องทางการ
โปรโตคอล (Protocol)
โปรโตคอล คือ ระเบียบวิธีการ กฎ และข้อกำหนดต่าง ๆ ใน การติดต่อสื่อสารรวมถึงมาตรฐานที่ใช้เพื่อให้สามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง
TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
โปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันใช้ระบบปฏิบัติการที่ต่างกันและอยู่บนเครือข่ายที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันผ่านทางเครือข่ายได้โดย TCP/IP จะประกอบไปด้วยโปรโคตอล 2 ตัว TCP (Transmission Control Protocol) และ IP (Internet Protocol)
HTTP (Hyper Text Transfer Protocol)
โปรโตคอลที่ใช้ในการส่งเว็บเพจ (Web Page) ที่อยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาให้เครื่องไคลเอ็นท์ที่ทำการร้องขอไปทำให้ผู้ใช้งานสามารถท่องไปในเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกได้ FTP (File Transfer Protocol )
โปรโตคอลที่ใช้ในการส่งโอนไฟล์ข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์โดยจะเรียกการโอนไฟล์จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาที่เคลื่อนไคลเอ็นท์ว่า “Download” และเรียกการโอนไฟล์จากเครื่องไคลเอ็นท์ไปไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ว่า “Upload”
SMTP (Simple Mail Transport Protocol)
โปรโตคอลที่ใช้ในการส่ง E-mail ไปยัง Mailbox ที่จุดหมายปลายทาง
POP3 (Post Office Protocol – 3)
โปรโตคอลที่ใช้ในการดึง E-mail จาก Mailbox ของผู้ให้บริการมาเก็บไว้ที่เครื่องตนเองเพื่อให้สะดวกต่อการจัดการับ E-Mail

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น